ข้อมูลทั่วไป
-
ลักษณะที่ตั้ง
เทศบาลตำบลบ้านค่าย มีเนื้อที่ 1,637.5 ไร่ หรือคิดเป็นพื้นที่ 2.62 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดระยอง อยู่ห่างจากจังหวัดระยอง 11 กิโลเมตร ตั้งอยู่ถนนทางเหลวงหมายเลข 3138
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขต อบต.บางบุตร (ช่วงหลักหมุดที่ 1,2,3)
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขต อบต.หนองละลอก (ช่วงหลักหมุถที่ 7,8)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขต อบต.บ้านค่ายพัฒนา (ช่วงหลักหมุดที่ 4,5,6,7)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขต อบต.หนองละลอก (ช่วงหลักหมุดที่ 1,8)
เขตการปกครอง
เทศบาลตำบลบ้านค่ายแบ่งเขตการปกครองเป็น 6 หมู่บ้าน คือ ม.1 อยู่ในเขตการปกครองเทสบาลตำบลบ้านคายทั้งหมด ส่วน ม.2, ม.6 ตำบลบ้านค่าย และ ม.3, ม.4 และ ม.6 ตำบลหนองละลอกและอยู่ในเขตเทสบาลตำบลบ้านค่าย
-
เมืองงามนามบ้านค่าย เปรียบดั่งสมุดบันทึกเล่มหนึ่งที่คอยบอกเล่าเรื่องราวทั้งอดีตดังปรากฏหลักฐาน ทางโบราณคดีซากหินสลักศิลปะขอมจึงสันนิษฐานได้ว่าอาณาจักขอมเป็นกลุ่มชนชาติแรกที่เข้ามามีอิทธิพล ในดินแดนแถบนี้ จนกระทั่งรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ ยุคแห่งการปฏิรูปทางการเมืองการปกครองครั้งใหญ่ อันเป็นผลจาการเข้ามาของชาติตะวันตก บ้านค่ายจึงได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอบ้านค่าย อยู่ในการปกครองของจังหวัดระยอง
ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงสุขาภิบาลเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2499 ลงในประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 73 ตอนที่ 60 ฉบับพิเศษ หน้า 30 และเปลี่ยนเปลงเขตสุขาภิบาลอีกครั้งเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2516 ลงในประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 90 ตอนที่ 40 หน้า 1185 และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลบ้านค่ายเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ตราบปัจจุบัน
เทศบาลตำบลบ้านค่ายตั้งอยู่ห่างจากจังหวัดระยองประมาณ 11 กิโลเมตร ขนาดพื้นที่ 2.62 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1637.5 ไร่ ปัจจุบันแบ่งการปกครองเป็น 6 หมู่บ้าน คือ หมู่1 หมู่ 2 บางส่วน หมู่ 6 ตำบลบ้านค่าย หมู่ 3 หมู่ 4 และหมู่ 6 ตำบลหนองละลอก ประกอบด้วยชุมชนบ้านโขดคลอง ชุมชนบ้านคลองน้ำงู ชุมชนบ้านพาณีอุทิศและชุมชนบ้านสามแยก ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายเป็นหลัก ทั้งนี้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนน้อย มีพื้นที่ทางการเกษตรกรรมประมาณ 372 ไร่ กระจายอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาล ซึ่งมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แต่ไม่อาจลบเลือนร่องรอยแห่งอดีต อันทรงคุณค่าที่ยังคงฝังรากลึกอยู่ในวิถี ทางแห่งการขับเคลื่อนสังคม ทุกสรรพชีวิตยังคงก้าวย่างไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ยืนหยัดไม่ล้มลงไปตามกระแสของวัฒนธรรมภายนอกที่คอยถาโถมเข้ามาอย่างไม่หยุดยั้ง
-
วิสัยทัศน์