• ปรับขนาด
    ตัวอักษร

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
บทบาทหน้าที่

อำนาจหน้าที่และภารกิจของเทศบาล

 

เทศบาลตำบลบ้านค่าย  มีภารกิจและอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๕๙๖  แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๑๔ พ.ศ.๒๕๖๒  และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒

 

๑.พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๕๙๖  แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๑๔ พ.ศ.๒๕๖๒ กำหนดอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลไว้ ในมาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑ ดังนี้

มาตรา ๕๐  ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาลดังต่อไปนี้

  1. รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน

(๒) ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ

(๓) รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

(๔) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ

(๕) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง

(๖) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม

(๗) ส่งเสริมการพัฒนาสตรีเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

(๘) บำรุงศิลปะ จารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

(๙) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล

การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยวิธีการ

บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  และคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล  การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง  การตรวจสอบ  การประเมินผลการปฏิบัติงานและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร  ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย  ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

มาตรา ๕๑ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการใดๆ ในเขตเทศบาลดังต่อไปนี้

  1. ให้มีน้ำสะอาดหรือน้ำประปา
  2. ให้มีโรงฆ่าสัตว์
  3. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
  4. ให้มีสุสานและฌาปนกิจสถาน
  5. บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
  6. ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
  7. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
  8. ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
  9. เทศพาณิชย์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๒.พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒  หมวด ๒ การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะ มาตรา ๑๖ ให้เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นด้วยตนเอง  ดังนี้

(๑) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นตนเอง

(๒) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบกทางน้ำ และทางระบายน้ำ

(๓) จัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ

(๔) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ

(๕) การสาธารณูปการ

(๖) การส่งเสริมการฝึก และการประกอบอาชีพ

(๗) การพาณิชย์และการส่งเสริมการลงทุน

(๘) การส่งเสริมการท่องเที่ยว

(๙) การจัดการศึกษา

(๑๐) การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส

(๑๑) การบำรุงรักษาศิลปะจารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

(๑๒) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

(๑๓) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

(๑๔) การส่งเสริมกีฬา

(๑๕) การส่งเสริมประชาธิปไตยความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

(๑๖) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น

(๑๗) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

(๑๘) การกำจัดมูลฝอยสิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย

(๑๙) การสาธารณสุขการอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

(๒๐) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน

(๒๑) การควบคุมเลี้ยงสัตว์

(๒๒) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์

(๒๓) การรักษาความปลอดภัยความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ

(๒๔) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(๒๕) การผังเมือง

(๒๖) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร

(๒๗) การดูแลรักษาที่สาธารณะ

(๒๘) การควบคุมอาคาร

(๒๙) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

(๓๐) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

(๓๑) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

 

 

 

 

อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ

อำนาจหน้าที่ของสำนักปลัดเทศบาล

          มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับราชการทั่วไปของเทศบาล และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดในเทศบาลโดยเฉพาะ รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย  แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของเทศบาล รวมถึงการวิเคราะห์นโยบายและแผน ซึ่งมีลักษณะเพื่อประกอบการกำหนดนโยบายจัดทำแผนหรือโครงการ ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนและโครงการต่างๆ  ซึ่งอาจเป็นนโยบายและโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหารหรือความมั่นคงของประเทศ ทั้งนี้  อาจเป็นนโยบายแผนงานของเทศบาลและโครงสร้างระดับชาติ ระดับกระทรวง ระดับกรม หรือระดับจังหวัดแล้วแต่กรณี และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

อำนาจหน้าที่ของกองคลัง

          มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจ่าย การรับ การนำส่งเงิน  การเก็บรักษาเงินและเอกสารทางการเงิน การตรวจสอบใบสำคัญ  ฎีกา งานเกี่ยวกับเงินเดือน  ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบำเหน็จ  บำนาญ  เงินอื่นๆ งานเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณฐานะทางการเงิน  การจัดสรรเงินต่างๆ  การจัดทำบัญชีทุกประเภท  ทะเบียนคุมเงินรายได้และรายจ่ายต่างๆ  ควบคุมการเบิกจ่าย  การจัดเก็บรายได้ งานทะเบียนพาณิชย์  งานแผนที่และทรัพย์สิน  งานพัสดุและทรัพย์สิน  การทำงบทดลองประจำเดือน  ประจำปี งานเกี่ยวกับการพัสดุเทศบาลและงานอื่นที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

อำนาจหน้าที่ของกองช่าง

          มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการสำรวจออกแบบ  จัดทำข้อมูลทางด้านวิศวกรรม  การจัดเก็บและการทดสอบคุณภาพวัสดุ  งานออกแบบและเขียนแบบ  การตรวจสอบ  การก่อสร้าง  งานการควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย  งานแผนการปฏิบัติงานก่อสร้างและซ่อมบำรุง  การควบคุมการก่อสร้าง และการซ่อมบำรุง   งานแผนงานด้านวิศวกรรมเครื่องจักรกลและยานพาหนะ  งานเกี่ยวกับแผน ควบคุม เก็บรักษา  การเบิกจ่ายพัสดุ  อุปกรณ์  อะไหล่ น้ำมันเชื้อเพลิง และงานอื่นที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

อำนาจหน้าที่ของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

          มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม  พร้อมทั้งกฎหมายอื่นใดที่เกี่ยวข้อง พัฒนาและปรับปรุงงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม การอาชีวอนามัย  การส่งเสริมสุขภาพ  การควบคุมป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ  การพัฒนาพฤติกรรมอนามัย  การสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม การให้บริการเผยแพร่ความรู้ทางด้านการส่งเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรค  การควบคุมสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองผู้บริโภค  จัดบริการ รักษาความสะอาด การจัดการขยะมูลฝอย และงานอื่นที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

อำนาจหน้าที่ของกองการศึกษา

          มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารศึกษา และพัฒนาการศึกษา  ทั้งการศึกษาในระบบการศึกษา  การศึกษานอกระบบการศึกษาและการศึกษาตามอัธยาศัย  โดยให้มีงานธุรการ  งานกิจการศาสนา  ส่งเสริมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม งานกีฬาและนันทนาการ  งานกิจกรรมเด็กเยาวชน และงานอื่นที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

อำนาจหน้าที่ของหน่วยตรวจสอบภายใน

          มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับงานตรวจสอบบัญชี  ทะเบียน และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบเอกสาร เบิกจ่ายเงินทุกประเภท  ตรวจสอบเอกสารการรับเงินทุกประเภท ตรวจสอบภาษีทั้งภายนอกและภายใน  ตรวจสอบการเก็บรักษาหลักฐานการเงิน  การบัญชี  การจัดเก็บรายได้  ตรวจสอบ พัสดุและการรักษา ตรวจสอบทรัพย์สินของเทศบาล  ตรวจสอบการทำประโยชน์ทรัพย์สินเทศบาล และงานอื่นที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย